วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2552

ความร้อนแฝงจำเพาะของสาร

ความร้อน


3.ความร้อนแฝงจำเพาะของสาร

ความร้อนแฝง คือ ปริมาณความร้อนที่ทำให้วัตถุเปลี่ยนสถานะโดยอุณหภูมิคงที่
ความร้อนแฝงจำเพาะของสาร (L) หมายถึง ปริมาณความร้อนที่ทำให้สารมวลหน่วย เปลี่ยนสถานะ โดยไม่เปลี่ยนอุณหภูมิมี 2 ประเภท คือ

1.) ความร้อนแฝงจำเพาะของการหลอมเหลว คือ ปริมาณความร้อนที่ทำให้แข็งมวล 1 หน่วยกลายเป็นของเหลว โดยไม่เปลี่ยนอุณหภูมิ

2.) ความร้อนแฝงจำเพาะของการกลายเป็นไอ คือ ปริมาณความร้อนที่ทำให้ของเหลวมวล 1 หน่วย กลายเป็นไอ โดยไม่เปลี่ยนอุณหภูมิ
ตัวอย่างเช่น
- ความร้อนแฝงจำเพาะของการหลอมเหลวของน้ำแข็ง = หรือ
80 cal /g
- ความร้อนแฝงจำเพาะของการกลายป็นไอของน้ำ = หรือ
540 cal /g

จากนิยามของความร้อนแฝงจำเพาะของสารที่หาได้จากการทดลอง นำมาใช้ในการหาปริมาณความร้อนที่ทำให้วัตถุเปลี่ยนสถานะได้ดังนี้

มวล 1 หน่วย เปลี่ยนสถานะต้องใช้ความร้อน = L

มวล m หน่วย เปลี่ยนสถานะต้องใช้ความร้อน = mL

ถ้าให้ QL เป็นปริมาณความร้อนที่ทำให้วัตถุเปลี่ยนสถานะ จะได้ความสัมพันธ์





โดย QL คือ ปริมาณความร้อนที่ทำให้สารเปลี่ยนสถานะ ( cal, J )

m คือ มวลของสารที่เปลี่ยนสถานะ ( g, kg )

L คือ ความร้อนแฝงจำเพาะของสาร ( cal /g, J /kg )